วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วิเคราะห์ปัญหาการใช้หลักสูตรแกนกลาง51

ความนำ
                       ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรแกนกลาง51ขึ้นมานั้น เพื่ออยากให้นักเรียนได้เรียนรู้ที่หลากหลาย สามารถนำไปปฏิบัติตามหลักสูตรที่วางไว้ แต่มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ข้อดีคือ สามารถให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างกว้างขวาง มีสติปัญญา เป็นคนดี และสามารถกระจายอำนาจ และมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาหลักสูตร ข้อเสียคือ หลักสูตรแน่นขึ้น ยากขึ้น เป็นปัญหาของเด็กนักเรียนในการวัดผล ครูลำบากใจในการวัดผล แต่หลักสูตรจะประสบความสำเร็จได้ต้องร่วมมือช่วยกันโดยชุมชน ครอบครัว และบุคคลที่รับผิดชอบ

วิสัยทัศน์

                        มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการศึกษาในการประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นสำคัญ แต่นักเรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและพัฒนาตนเองได้เต็มความสามารถ

หลักการ

                        หลักสูตรนี้มีความเป็นเอกภาพเป็นกลาง โดยเน้นพัฒนาการเรียน ทักษะของนักเรียน มีความคิด เจตคติ และเด็กมีความเป็นสากล แสดงถึงการให้โอกาศอย่างเสมอภาค การกระจายอำนาจ โดยมีสังคมส่วนใหญ่มีส่วนร่วมเพื่อจัดการศึกษาสอดคล้องกับท้องถิ่นที่จะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งนี้การศึกษาในระบบหรือนอกระบบครอบคลุมทุกอย่าง มีเป้าหมาย ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวนี้เป็นโครงสร้างที่สามารถยืดหยุ่นได้ ทางด้านสาระการเรียนรู้ เวลา และประสบการณ์

จุดหมาย

                    ตามหลักสูตรแกนกลาง51มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพจริง แต่การเรียนรู้ใน3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ บ่งบอกให้รู้ถึงปัญหาของการพัฒนาและสร้างภูมิปัญญาที่ก่อให้เกิดศักยภาพในการศึกษาที่ค่องข้างยากและมีปัญหาตามมา ไม่ว่าจะเป็นการเกิดทักษะชีวิตและกระบวนการที่สร้างจิตสำนึกต่อตนเองได้อย่างสมบูรณ์

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

                  สมรรถนะความสามารถในการสื่อสารโดยทำให้เด็กๆมีความสามารถในการรับสารและการส่งสารได้ถูกต้อง และทำให้เด็กๆแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้จากการที่ได้เรียนรู้ในวิชานั้นๆได้อย่างเหมาะสม และให้ได้ใช้ความคิดในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการสังเกตุในการใช้ความคิดได้อย่างสร้างสรรค์ และสามารถที่จะแก้ปัญหาอุปสรรคต่างๆที่ได้เผชิญมาโดยใช้เทคโนโลยีในด้านต่างๆมาแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ถูกต้องและมีความเหมาะสมที่สุด

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

                     ในการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรนี้ สามารถมุ่งเน้นต่อการพัฒนาผู้เรียนให้มีฐานะพลเมืองไทยและพลเมืองโลก ดังนี้  1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์  2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย      ทั้งหมดนี้บ่งบอกให้รู้ถึงความสามารถต่อการพัฒนาที่สามารถอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งที่เกิดจากกายและใจ

มาตรฐารการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้

                      มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดทั้ง8กลุ่มสาระ การเรียนรู้จะส่งผลในแง่ดี คือ เด็กในโรงเรียนมีทักษะการเรียนรู้ต่อการพัฒนาสื่อการสอนได้ดีขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน อาจมีข้อเสียในด้านพัฒนาที่ไม่เป็นไปตามตัวชี้วัดที่กำหนด เช่น บางรายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ของเด็กไม่เป็นไปตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ และไม่บรรลุเป้าหมายตามความประสงค์และวัตถุประสงค์ของโรงเรียน เช่น วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ เป็นต้น

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

                            เป็นกิจกรรมที่ทำให้นักเรียนเกิดการพัฒนาความรับผิดชอบ การทำงานเป็นทีมกับผู้อื่นและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เช่น กิจกรรมการทำกระดาษสา เป็นกิจกรรมให้นักเรียนรู้จักการนำกระดาษที่เหลือมาใช้ให้เกิดประโยชน์  การทำกระดาษสา สามารถมาประดิษฐ์เป็นกรอบรูป ทำกระเป๋า ดังนั้น กิจกรมพัฒนาผู้เรียนจึงเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุดที่ทำให้นักเรียนรู้จักตัดสินใจที่เหมาะสมและสามารถปฏิบัติด้วยตนเองได้ต่อไป

ระดับการศึกษา

                            ในระดับการศึกษาชั้นประถม ให้เด็กอย่างน้อยๆต้องอ่านออกเขียนได้ในแต่ละวิชา เพื่อมีการพัฒนาในชั้นต่อๆไปได้ง่าย ต้องจัดให้เด็กเรียนรู้ โดยการทำแบบฝึกหัด แบบทดสอบ เพื่อฝึกทักษะและเปิดโอกาสได้แสดงความคิดเห็นบ้าง    ส่วนมัธยมต้น ต้องให้เด็กตัดสินใจเลือกสายวิชาที่ชอบ เพื่อให้เด็กมีการพัฒนาหรือแนวทางในการดำรงชีวิต  และมัธยมตอนปลาย  ต้องให้เด็กใช้ทักษะในการเรียนรู้ทักษะมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

การจัดเวลาเรียน

                             ต้องจัดเวลาเรียนในแต่ละระดับชั้นให้เหมาะสม โดยในแต่ละวิชาเรียนจะต้องจัดสอนไม่เกิน 50 นาที เพราะเด็กส่วนใหญ่จะมีสมาธิสั้น หรือเด็กบางคนเกิดความเบื่อหน่ายในการอธิบายเนื้อหาสาระของแต่ละวิชานั้นๆ  ดังนั้น  ผู้สอนจะต้องป้อนข้อมูลหรือเนื้อหาในเวลา 15 นาทีแรก เพราะเด็กอาจจะเบื่อหน่าย หลังจากนั้น ควรให้เด็กได้ทำแบบฝึกหรือทำกิจกรรมอย่างอื่นแทน 

2 ความคิดเห็น:

  1. ส่งแค่นี้ก่อนนะครับอาจารย์ ส่วนที่เหลือจะทยอยส่งทีหลัง
    จาก กลุ่มวีวี่

    ตอบลบ
  2. ถึง อาจารย์ มุคลิส คอลออาแซ

    กรุณาอ่านหลายๆรอบหน่อยนะครับ ตั้งใจส่งมากๆ

    ตอบลบ