วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทความการเรียนรู้

บทความเรื่องการเรียนรู้
                   การเรียนรู้หมายถึง กระบวนการที่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปอย่างถาวรหรือค่อนข้างถาวร อันเนื่องมาจากประสบการณ์หรือการฝึกหัดที่เรียกว่าเป็นกระบวนการ เพราะการเรียนรู้ต้องอาศัยระยะเวลาในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม นักจิตวิทยาส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องของประสบการณ์ หรือการฝึกหัดว่าเป็นสิ่งสำคัญในการก่อให้เกิดการเรียนรู้  ลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการเรียนรู้คือจะต้องเป็นปฏิสัมพันธ์กันระหว่างเหตุการณ์ 2 อย่าง คือ
                   1. เหตุการณ์ที่เป็นสิ่งเร้า การศึกษาในเรื่องสิ่งเร้านี้นักจิตวิทยาจะให้ความสำคัญกับเรื่องระดับความมาก น้อย ของสิ่งเร้านั้น และระยะเวลาของการเกิดสิ่งเร้า
                   2. การตอบสนอง คือพฤติกรรมเฉพาะอย่างที่สามารถสังเกตเห็นได้ในสภาพการณ์ใดสภาพการณ์หนึ่ง
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
                   ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนองซึ่งจะนำไปสู่ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม
                         1.ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค คือการตอบสนองที่เป็นไปโดยอัตโนมัติเมื่อนำสิ่งเร้าใหม่มาควบคู่กับสิ่งเร้าเดิม ซึ่งนักจิตวิทยาเรียกพฤติกรรมการตอบสนองนี้ว่าพฤติกรรมเรสปอนเด้นท์ ผู้ที่ทำการทดลองในเรื่องนี้คือ พาฟลอฟ
                         กระบวนการสำคัญอันเกิดจากการเรียนรู้ของพาฟลอฟ
                               กระบวนการที่สำคัญ 3 ประการ อันเป็นผลจากการวางเงื่อนไข คือ
                                การแผ่ขยาย  คือ ความสามารถที่จะตอบสนองในลักษณะเดิมต่อสิ่งเร้าที่มีความคล้ายคลึงกัน
                                การจำแนก คือ ความสามารถที่จะจำแนกความแตกต่างของสิ่งเร้า
                               การลบพฤติกรรมชั่วคราว คือ การที่พฤติกรรมการตอบสนองลดน้อยลงอันเป็นผลเนื่องจากการที่ไม่ได้รับสิ่งเร้าที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข หลังจากเกิดการลบพฤติกรรมชั่วคราวแล้ว สักระยะหนึ่งพฤติกรรมที่ถูกลบเงื่อนไขแล้วอาจฟื้นตัวเกิดขึ้นมาอีกได้รับการกระตุ้นโดยสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
                         2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ ผู้ที่เป็นเจ้าของทฤษฎีนี้คือ สกินเนอร์ โดยเขามีความคิดเห็นว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้นจำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดกับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์เป็นผู้ลงมือปฏิบัติเองไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่า
                         3. ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยง ผู้ที่ทำการศึกษาในเรื่องนี้คือ ธอร์นไดน์ ได้กล่าวว่าการเรียนรู้ คือ การที่ผู้เรียนสามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง และได้รับความพอใจที่จะกระทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น
                         กฎการเรียนรู้ ธอร์นไดน์ได้ตั้งกฎการเรียนรู้ที่สำคัญไว้ ดังนี้
                         1. กฎแห่งผล กฎนี้ให้ความสำคัญกับผลที่ได้หลังจากการตอบสนองแล้ว ถ้าผลที่ได้เป็นที่น่าพอใจ บุคคลนั้นก็จะแสดงพฤติกรรมมากยิ่งขึ้นตรงข้ามกัน ถ้าผลที่ได้ไม่เป็นที่น่าพอใจ บุคคลนั้นก็จะแสดงพฤติกรรมนั้นลดลง
                         2. กฎแห่งการฝึก กฎนี้ให้ความสำคัญกับการฝึก  โดยเน้นว่าสิ่งใดก็ตามที่ฝึกบ่อยๆก็จะทำสิ่งนั้นได้ดี นักจิตวิทยาได้แบ่งลักษณะการฝึกออกเป็น 2 ประเภทคือ การฝึกติดต่อกัน และการฝึกแบบให้พักระยะ
                         3. กฎแห่งความพร้อม กฎแห่งความพร้อมนี้มีสาระสำคัญดังนี้ เมื่อบุคคลที่พร้อมจะกระทำแล้วได้ทำ เขาย่อมเกิดความพอใจ” “เมื่อบุคคลที่พร้อมจะกระทำแล้วไมได้ทำ เขาย่อมเกิดความไม่พอใจและ เมื่อบุคคลที่ไม่พร้อมจะกระทำ แต่ต้องกระทำ เขาย่อมเกิดความไม่พอใจจากหลักการดังกล่าวจะเน้นเรื่องความพร้อม ทั้งทางกายและจิตใจด้วย
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
                   ในปัจจุบันนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมมีความคิดเห็นตรงกันว่า ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำค่อนข้างจำกัด ดังนั้นนักจิตวิทยากลุ่มนี้จึงขยายการศึกษาออกไปโดยสนใจกระบวนการคิด ที่มีผลต่อการเรียนรู้ ซึ่งเราไม่สามารถจะเห็นได้โดยตรง ผู้นำที่สำคัญคือ บันดูรา ได้ตั้งทฤษฎีชื่อ การเรียนรู้โดยการสังเกต โดยอธิบายว่าการเรียนรู้ต้องเป็นปฏิสัมพันธ์กันและกันระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม
                   1. ลำดับขั้นการเรียนรู้ บันดูราได้แบ่งลำดับขั้นการเรียนรู้โดยการสังเกต ออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้
                         1. ความสนใจ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้เรียนมีความสนใจและเอาใจใส่ต่อสิ่งที่น่าสนใจที่เด่น
                         2. ความจำ กระทำได้โดยการอธิบายซ้ำๆ ให้ผู้เรียนเห็นหลายๆครั้ง ให้ฝึกบ่อยๆ
                         3. การลงมือทำ ต้องอาศัยการแนะนำ ฝึกฝนบ่อยๆ
                         4. การจูงใจและการเสริมแรง บันดูราได้แบ่งการเสริมแรงออกเป็น 3 ลักษณะ คือ การเสริมแรงโดยตรง การเสริมแรงที่ได้รับอิทธิพลจากผู้อื่น และการเสริมแรงตนเอง ซึ่งเป็นการเสริมแรงที่สำคัญ
                   2. ผลที่ได้รับจากการเรียนรู้
                         1. ทำให้เกิดพฤติกรรมใหม่ๆ
                         2. เป็นการกระตุ้นพฤติกรรม ที่สามารถกระทำได้แล้ว
                         3. การเพิ่มหรือลดการไตร่ตรอง ในการแสดงพฤติกรรม
                         4. การดึงความสนใจ ต่อสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ
                         5. การเร้าอารมณ์
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม
                   ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยมนี้ให้ความสำคัญกับความสามารถในการตั้งวัตถุประสงค์ การวางแผน ความตั้งใจ ความคิด ความจำ การคัดเลือก
                         1. ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้ เป็นการศึกษาของนักจิตวิทยาชาวเยอรมัน ซึ่งเรียกว่า กลุ่มเกสตัลท์ โดยให้ความสำคัญกับส่วนรวมหรือผลรวมมากกว่าส่วนย่อย
                         หลักการรับรู้
                         กลุ่มเกสตัลท์อธิบายหลักการรับรู้ของมนุษย์ว่าเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ กฎการรับรู้ที่สำคัญมี 4 ข้อ ดังนี้
1.    กฎแห่งความใกล้ชิด
2.    กฎแห่งความคล้าย
3.    กฎแห่งความสมบูรณ์
4.    กฎแห่งการต่อเนื่องที่ดี
                         2. ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการประมวลสารสนเทศ ปัจจุบันทฤษฎีนี้กำลังได้รับความสนใจและนำไปใช้ประโยชน์ได้มากในวงการศึกษา
                         องค์ประกอบของการเรียนรู้
                                องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้โดยการประมวลสารสนเทศ ซึ่งนักจิตวิทยาในกลุ่มพุทธินิยมให้ความสำคัญมี 4 ประการคือ
1.    คุณลักษณะของผู้เรียน
2.    กิจกรรมของผู้เรียน
3.    ธรรมชาติของสิ่งที่เรียน
4.    วิธีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
                         3. การเรียนรู้เกี่ยวกับความคิดของตนเอง นักจิตวิทยากลุ่มพุทธินิยม เชื่อว่าการเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อผู้เรียนควบคุมตนเองได้ ลักษณะดังกล่าวนี้ ฟลาเวล ได้อธิบายไว้โดยเน้นถึงกระบวนการเรียนรู้ที่จะต้องอาศัยความสามารถทางปัญญา
                         องค์ประกอบของความรู้
                         ฟลาเวล ได้อธิบายว่าองค์ประกอบของความรู้ที่เกี่ยวกับกระบวนความคิดของตนเองนั้น มี 3 ประการ คือ
1.     องค์ประกอบด้านบุคคล
2.     องค์ประกอบด้านงาน
3.     องค์ประกอบด้านยุทธวิธี
                   4. การเรียนโดยความหมาย
                         แนวความคิดในการเรียนรู้ด้วยวิธีนี้ได้รับอิทธิพลมาจากบรูนเนอร์  การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพก็เพราะผู้เรียนสามารถแปลความหมายของข้อมูลโดยใช้ประสบการณ์ของตนเองเป็นหลักสำคัญ
                         เงื่อนไขในการเรียนรู้
                         การเรียนรู้โดยรู้ความหมายจะเกิดขึ้นได้ก็โดยการฝึกภายใต้เงื่อนไข ดังนี้
1.     การฝึกหัดวิธีคิด
2.     เนื้อหาที่ใช้เรียนนั้นต้องเป็นเนื้อหาที่เป็นจริง
3.     ผู้เรียนควรมีวิธีการคิดและการแก้ปัญหาในหลายทาง เพื่อเป็นการฝึกไว้
                                                                              ชื่อนางสาวสารีป๊ะ โต๊ะแว เลขที่45

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น