วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทความการเรียนรู้

        การที่มนุษย์ได้รับรู้ถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเขา โดยเริ่มต้นตั้งแต่การมีปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดาเรื่อยไป จนกระทั่งคลอดมาเป็นทารกแล้วอยู่รอด ซึ่งบุคคลก็ต้องปรับตัวเพื่อให้ตนเองอยู่รอดกับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในครรภ์มารดาและเมื่อออกมาอยู่ภายนอกเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่รอดทั้งนี้ก็เพราะการเรียนรู้ทั้งสิ้น
            และอีกนัยหนึ่ง การเรียนรู้ก็ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมอันเป็นผลจากการสังเกต พิจารณา ไตร่ตรอง แก้ปัญหาทั้งปวง และไม่ชี้ชัดว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปในทางที่สังคมยอมรับเท่านั้น การเรียนรู้เป็นการปรับตัวให้เข้าสิ่งแวดล้อม และเป็นสิ่งที่เจริญงอกงาม การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นการเรียนรู้ต้องได้มาจากประสบการณ์ หรือการฝึกหัดและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงนั้นควรจะต้องมีความคงทนถาวรเหมาะแก่เหตุการณ์เมื่อพฤติกรรมดั้งเดิมเปลี่ยนไปสู่พฤติกรรมที่มุ่งหวัง ก็แสดงว่าเกิดการเรียนรู้แล้ว และที่กล่าวว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการอย่างหนึ่ง ซึ่งกระบวนการดังกล่าวมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1.มีสิ่งเร้ามาเร้าอินอินทรีย์ 2.อินทรีย์เกิดการรับสัมผัส ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5  ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย 3.ประสาทสัมผัสส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทเกิดการรับรู้   4.สมองแปลผลออกมาว่าสิ่งที่สัมผัสคืออะไรเรียกว่าความคิดรวบยอด 5.พฤติกรรมได้รับคำแปลผลทำให้เกิดความคิดรวบยอดก็จะเกิดการเรียนรู้ 6.เมื่อเกิดกระบวนการเรียนรู้ก็จะเกิดการตอบสนองต่อสิ่งนั้นๆ
              จากกระบวนการดังกล่าวมีลักษณะสำคัญ ที่ทำให้การเรียนรู้นั้นจะเป็นปฏิสัมพันธ์กันระหว่างเหตุการณ์ 2 อย่าง ก็คือ สิ่งเร้าและการตอบสนอง ซึ่งจะสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม คือเน้นการรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนอง โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง อันนำไปสู่ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม ดังตัวอย่างเช่น การที่มนุษย์ได้เรียนรู้ถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว โดยการสัมผัสสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งคือ ต้นไมยราพ ปรากฏว่าต้นไมยราพมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้นและแสดงพฤติกรรมให้มนุษย์ได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงว่ามันมีการหุบใบทันที เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างน่าอัศจรรย์ ถึงขั้นต้องใช้ความคิดต่อไปอีกว่า  นอกจากใช้มือสัมผัสแล้ว ปัจจัยทางกายภาพมีอะไรอีกบ้าง ที่มีผลทำให้ต้นไมยราพมีการหุบใบได้อีก ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่น่าค้นหาคำตอบต่อไป เชื่อมโยงกับคำศัพท์ที่พาฟลอฟได้ทำการทดลอง คือ การตอบสนองที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข (Uncondional Responseหรือ UCR) คือการตอบสนองที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  ถ้าเป็นการตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข (Condional Responseหรือ CR) คือการตอบสนองอันเป็นผลมาจากการเรียนรู้ที่ถูกวางเงื่อนไขแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยง ของธอร์นไดน์  ได้กล่าวว่าการเรียนรู้ คือ การที่ผู้เรียนสามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง และได้รับความพึงพอใจที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น  ธอร์นไดน์ได้ทำการทลอง โดยสร้างกรงทดลองด้วยไม้ ภายในกรงมีคานไม้ที่ยึดกับเชือก ซึ่งต่อไปยังประตู เพื่อให้เปิด - ปิดได้เมื่อเหยียบคาน นำแมวมาขังไว้ในกรง นอกกรงมีปลาวางให้แมวสังเกตเห็นได้  เมื่อแมวหิวมันจะพยามยามหาทางออกกินอาหาร โดยพฤติกรรมของมันจะมีลักษณะแบบลองผิดลองถูก ด้วยความบังเอิญไปเหยียบถูกคานทำให้ปรตูเปิด แมวจึงออกมากินอาหารได้ ในครั้งต่อมาเมื่อแมวหิว พฤติกรรมของมันจะไม่เป็นแบบครั้งแรกแต่จะใช้เวลาในการออกจากกรงได้เร็วขึ้นตามลำดับ แสดงว่าแมวเกิดการเรียนรู้แบบสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงได้  เขาจึงได้ตั้งกฏการเรียนรู้ที่สำคัญ มีดังนี้ 1.กฎแห่งผล  ผลที่ได้หลังจากการตอบสนอง เป็นที่น่าพึงพอใจจะมีแนวโน้มแสดงพฤิตกรรมมากยิ่งขึ้น  ถ้าผลออกมาไม่เป็นแบบที่น่าพึงพอใจ จะมีแนวโน้มแสดงพฤติกรรมลดลง 2.กฏแห่งการฝึก เน้นให้ฝึกบ่อยๆจะได้ทำสิ่งนั้นได้ดี ถ้าขาดการฝึก ย่อมไม่ได้ดีกว่าเดิม          การฝึกมี 2 ประเภท คือการฝึกติดต่อกัน และการฝึกแบบให้พักเป็นระยะ 3.กฏแห่งความพร้อม ต้องเน้นความพร้อมทางกายและทางจิตใจเป็นสิ่งสำคัญ เช่น เมื่อพร้อมที่จะกระทำแล้วได้ทำ ย่อมเกิดความพอใจ หรือเมื่อพร้อมที่จะกระทำแล้วไม่ได้ทำ ก็ย่อมเกิดความไม่พอใจ และ เมื่อไม่พร้อมที่จะกระทำ แต่ต้องกระทำ ก็ย่อมเกิดความไม่พอใจ
               สรุปการเรียนรู้ที่กล่าวมาข้างต้น ก็คือ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญอีกอย่าง เพราะเกิดจากการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก โดยเชื่อกันว่าการเรียนรู้ในลักษณะนี้ เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการที่มองเห็นความต่อเนื่องของปัญหาทางธรรมชาติหรือชุดการทดลอง เพื่อให้มองเห็นถึงความเชื่อมโยงซึ่งเกี่ยวข้องระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก ผู้เรียนจะต้องอาศัยเวลาการสังเกต หรือจำนวนครั้งของการทดลองมากเพียงพอ จึงจะนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้สำเร็จนั่นเอง
                                                               ..............................................................................
                                   โดย นางสาว แวนูรอัยนี  หะยีแวจิ
                                          รหัส 5316417132  เลขที่ 52

3 ความคิดเห็น:

  1. ถึงอาจาย์ มุคลิส
    ขอขอบคุณอาจารย์มากเลยค่ะ ที่ได้มอบความรู้ใหม่ๆให้กับลูกศิษย์ คือ การส่งงานผ่านบล็อก นอกจากได้แสดงบทความของตัวเองลงไปแล้ว ยังได้อ่านของเพื่อนๆด้วย ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ด้วยค่ะ
    จาก นศ.ป บัณฑิต เลขที่ 52

    ตอบลบ
  2. ถึงอาจารย์ มุขลิศ คอลออาแซ
    ต้องขอขอบคุณอาจารย์มากๆ ที่ได้มอบสิ่งดีๆให้กับลูกศิษย์คนนี้ ได้ความรู้มามากมาย ทั้งการทำe-book การส่งบทความทางบล็อค แถมยังได้เจอประสบการณ์ที่แสนเจ็บปวด เมื่อตอนไปต่างประเทศ มันเป็นบทเรียนที่ล้ำค่ามาก ได้ทั้งความรู้อันหลากหลาย สุดท้าย ขอองค์อัลลอฮจงคุ้มครองครอบครัวของอาจารย์และดลบันดาลให้มีแต่รุซกีตลอดไป อามีน

    from.....ประธานในห้อง

    ตอบลบ