วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

***บทความการเรียนรู้***

         การเรียนรู้  (Learning) คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมในการแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสถาณการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันมีผลมาจากการได้มีประสบการณ์ธรรมชาติของการเรียนรู้โดยทั่วไปนักจิตวิทยาเชื่อว่ามนุษย์จะมีการเรียนรู้ได้ก็ต่อเมื่อมนุษย์ได้ทำกิจกรรมใดๆแล้วเกิดประสบการณ์โดยมีประสบการณ์ที่สะสมมามากๆและหลายๆครั้งทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ขึ้นและเกิดการพัฒนาสิ่งที่เรียนรู้จนเกิดเป็นทักษะ และเกิดเป็ยความชำนาญขึ้นของเเต่ละคนโดยไม่เหมือนกัน
       ธรรมชาติของการเรียนรู้ของมนุษย์เราก็จะมีการเรียนรู้ที่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร และย่อมมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงโดยการเปลี่ยนแปลงนั้นๆจะต้องเนื่องมาจากประสบการณ์ที่ได้เจอมากับตัวเองโดยการตั้งใจหรือเกิดโดยความบังเอิญก็ตาม  และการเรียนรู้ของแต่ละคนมีความแตกต่างกันโดยที่แต่ละคนเจอแบบ  การสัมผัส  การสังเกตุ และการสังเกตุพฤติกรรมของแต่ละบุคคลว่าเป็นยังไง
      องค์ประกอบของการเรียนรู้นั้นก็จะมีดังต่อไปนี้
1.  สิ่งเร้า    เป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยาที่ได้ตอบสนองมา และเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมว่าจะแสดงออกมาในลักษณะใด สิ่งเร้าอาจเป็นเหตุการณ์อาจเกิดภายในหรือภายนอกร่างกายก็ได้
2. แรงขับ   จะมี 2 ประเภทด้วยกัน  คือ แรงขับปฐมภูมิ เช่น ความหิว ความกระหาย เป็นต้น และแรงขับทุติยภูมิ เป็นเรื่องของความต้องการทางจิตและทางสังคม  เช่น ความวิตกกังวล  ความต้องการความรัก ความปลอดภัย เป็นต้น
3. การตอบสนอง   เป็นพฤติกรรมต่างๆที่บุคคลแสดงออกมาเมื่อได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าต่างๆ เช่น คน สัตว์ และสิ่งของและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรานั่นเอง
4. แรงเสริม   เป็นสิ่งที่มาเพิ่มกำลังให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง  เช่น การให้รางวัล  การตำหนิ การลงโทษ การชมเชย เป็นต้น


                                                                                                     โดย นางสาวสายสุนีย์    บากี
                                                                                                      รหัส 5316417099     เลขที่ 19 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น