วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเรียนรู้

การเรียนรู้  หมายถึง  กระบวนการที่อินทรีย์มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวรหรือค่อนข้างถาวรอันเนื่องมาจากประสบการณ์หรือการฝึกหัดที่เรียกว่าเป็นกระบวนการ  เพราะการเรียนรู้ต้องอาศัยระยะเวลาในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม    การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่างอาจไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้   แต่จะเน้นเรื่องของประสบการณ์     ประสบการณ์ ก็คือ เหตุการณ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแต่ละบุคคล เหตุการณ์ดังกล่าวมักจะเน้นถึงเหตุการณ์ที่เป็นรูปธรรม  ลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการเรียนรู้คือจะต้องเป็นปฏิสัมพันธ์กันระหว่างเหตุการณ์ 2 อย่าง คือ เหตุการณ์ที่เป็นสิ่งเร้ากับการตอบสนองซึ่งจะสอดคล้องกับพฤติกรรม
                ถ้าเปรียบเทียบโดยทั่วไปแล้ว มนุษย์เราจะเรียนรู้โดยอาศัยทฤษฎีหลายๆ ทฤษฎี   ซึ่งส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับความสามารถในการตั้งวัตถุประสงค์  การวางแผน  ความตั้งใจ  ความคิด  ความจำ  การคัดเลือก   การให้ความหมายกับสิ่งเร้าต่างๆที่ได้จากประสบการณ์ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มพฤติกรรมแล้วจะเห็นว่ามีความแตกต่างกัน อย่างเช่น ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้ การศึกษาทดลองของเคอเลอร์โดยได้ทำการทดลองกับลิงชิมแฟนซี ชื่อ สุลต่าน เคอเลอร์ได้จับลิงมาขังไว้ในกรง นอกกรงมีกล้วยซึ่งวางอยู่ไกลจากกรง และมีไม้ขนาดสั้น ยาว วาง ไม้ท่อนสั้นสุดอยู่ในกรง เมื่อลิงหิว มันจึงหยิบไม้ท่อนสั้นในทันใดลิงก็จับไม้ท่อนสั้นเขี่ยไม้ท่อนยาว แล้วจึงเอาไม้ท่อนยาวเขี่ยกล้วยมากินได้จากพฤติกรรมเราสรุปได้ว่าลิงเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งรู้คือสามารถแก้ปัญหาได้โดยไม่ต้องลองผิดลองถูกแต่ใช้ประสบการณ์เดิมจากการที่เคยเขี่ยสิ่งของต่างๆภายในกรงมาก่อนแล้ว
                จากการศึกษาทดลองที่เน้นการเรียนรู้แบบการหยั่งรู้  จึงได้สรุปว่า โดยปกติแล้วคนเราจะมีวิธีการเรียนรู้และการแก้ปัญหา โดยอาศัยความคิดและประสบการณ์เดิมมากกว่าการลองผิดลองถูก เมื่อสามารถแก้ปัญหาในลักษณะนั้นได้แล้ว เมื่อเผชิญกับปัญหาที่คล้ายคลึงกันก็จะสามารถแก้ปัญหาได้ทันที

                             โดย   นางสาวแวเย๊าะ   แวหะยี
                             รหัส  5316417133   เลขที่    53

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น