วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเรียนรู้

        การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการ (Prosess) ที่อินทรีย์พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวรหรือค่อนข้างถาวรจากประสบการณ์หรือฝึกหัดที่เรียกว่าเป็นกระบวนการเพราะการเรียนรู้ต้องอาศัยระยะเวลาในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม
      การเรียนรู้คือ จะต้องเป็นปฎิสัมพันธ์เหตุการณ์ต่างๆอย่างเช่น  เปลี่ยนมุมมอง ลองทำอะไรแปลกๆ ลองทำอะไรที่ไม่ถนัด คิดสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็นอยู่เสมอ กล้าคิดออกจากกรอบ อย่าให้อุปสรรคใหญ่กว่าเรา อย่าปล่อยเวลาเสียเปล่า  ปัจจุบันนี้นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยมมีความคิดเห็นตรงกันว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำค่อนข้างมีขีดจำกัดในการอธิบายเรื่องการเรียนรู้ ดังนั้นนักจิตวิทยาในกลุ่มนี้หลายคนจึงขยายความสำคัญ คือ การเรียนรู้โดยสังเกตุโดยเขาได้อธิบายว่าการเรียนรู้ต้องเป็นปฎิสัมพันธ์กันและกันระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม
     1. ลำดับขั้นการเรียนรู้ได้แบ่งลำดับขั้นการเรียนรู้โดยสังเกตุออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้
         1. ความเข้าใจ  การเรียนรู้ในลักษณะนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนมีความสนใจและเอาใจใส่ต่อสิ่งที่น่าสนใจที่เด่นเป็นต้น เช่นการเรียนการสอนครูจะต้องจัดเนื้อหาให้น่าสนใจ เป็นต้น
        2. ความจำ  การที่ผู้เรียนจะแสดงพฤติกรรมตามแบบได้นั้นต้องอาศัยความจำซึ่งอาจจะกระทำได้โดยอธิบายซ้ำๆให้ผู้เรียนเห็นหลายๆครั้งให้ฝึกบ่อยๆ
        3. การลงมือกระทำ  เมื่อเริ่มกระทำตามใหม่ๆนั้นอาจจะไม่เป็นธรรมชาติซึ่งจะต้องอาศัยการแนะนำฝึกฝนบ่อยๆ
       4. การจูงใจและการเสริมแรง  พฤติกรรมใดๆก็ตามที่บุคคลจะทำตามก็ต่อเมื่อพฤติกรรมนั้นมีความน่าสนใจ ดังนั้นการจูงใจและการเสริมแรงจะมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้มาก
         ดังนั้น การเรียนที่เกิดขึ้นย่อมผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกันและตลอดชีวิต.
                                                                                                    โดย นางสาว ซูไฮลา    มาฮะ
                                                                                                     รหัส 5316417113  เลขที่ 33

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น