วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เรื่อง การเรียนรู้

        การเรียนรู้  หมายถึง  กระบวนการที่อีนทรีย์มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวรหรือค่อนข้างถาวร  อันเนื่องมาจากประสบการณ์หรือการฝึกหัดที่เรียกว่ากระบวนการ  เพราะการเรียนรู้ต้องอาศัยระยะเวลาในการก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม  ลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการเรียนรู้  คือจะต้องปฏิสัมพันธ์กันระหว่างเหตุการณ์  2  อย่าง คือ 1)  เหตุการณ์ที่เป็นสิ่งเร้า คือการศึกษาในเรื่องสิ่งเร้านักจิตวิทยาให้ความสำคัญเรื่องความมาก-น้อยของสิ่งเร้านั้นและระยะเวลาของการเกิดสิ่งเร้า   2) การตอบสนอง คือ พฤติกรรมเฉพาะอย่างที่สามารถสังเกตเห็นได้ในสภาพการณ์ใดสภาพการณ์หนึ่ง                                                                  ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม  เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองอันไปไปสู่ความสามารถในการแสดงพฤติกรรมมี  3  ทฤษฎีคือ 1) ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค  2)ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ  3)ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยง
                ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม  นักจิตวิทยาหลายคนขยายการศึกษาออกไปโดยสนใจกระบวนการคิด  ที่มีผลต่อการเรียนรู้ซึ่งไม่สามารถจะเห็นได้โดยตรง    ผู้นำที่สำคัญ  คือบันดูรา  ได้ตั้งทฤษฎี  ชื่อการเรียนรู้โดยการสังเกตได้อธิบายว่าการเรียนรู้ต้องปฏิสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม
                ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม  ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพุทธินิยมนี้ให้ความสำคัญกับความสามารถในการตั้งวัตถุประสงค์การ  วางแผน  ความตั้งใจ  ความคิด  ความจำ  การคัดเลือก  การให้ความหมายสิ่งเร้าต่างๆ  ที่ได้จากประสบการณ์  เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มพฤติกรรมนิยมแล้วจะเห็นความแตกต่างกันดังนี้
                1) ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้  คือ  เป็นการศึกษาทดลองนักจิตวิทยาชาวเยอรมันซึ่งเรียกว่า  กลุ่มเกสตัสท์  ซึ่งประกอบด้วยนักจิตวิทยาที่สำคัญ  3  คน  คือ  เวอร์ไทเมอร์  คอฟฟ์ฟก้า  และเคอเลอร์ 
2) ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการประมวลสารสนเทศ  คือ  นักจิตวิทยากลุ่มพุทธินิยมมีความสนใจว่ามนุษย์มีวิธีการรับข้อมูลใหม่อย่างไร   เมื่อได้รับความรู้แล้วมีวิธีการจำอย่างไร  สิ่งที่เรียนรู้แล้วจะมีผลต่อการเรียนรู้ข้อมูลใหม่อย่างไร  ปัจจุบันทฤษฎีนี้กำลังได้ความสนใจและนำไปใช้ประโยชน์ได้มากในวงการศึกษา
3) การเรียนรู้เกี่ยวกับความคิดของตนเอง  คือ  การเรียนจะมีประสิทธิภาพต่อเมื่อผู้เรียนควบคุมตนเองได้  ฟลาแวล  ได้อธิบายไว้โดยเน้นถึงกระบวนการเรียนรู้ที่จะต้องอาศัยความสามารถทางปัญญาโดยใช้คำว่า  (Metacognition) เพื่ออธิบายว่าผู้เรียนรู้จะต้องรู้เกี่ยวกับกระบวนการคิดของตน
4) การเรียนโดยรู้ความหมาย  คือ  การเรียนรู้ด้วยวิธีนี้ได้รับอิทธิพลมาจาก  บรูนเนอร์  การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพก็เพราะผู้เรียนสามารถแปลความหมายของข้อมูลโดยใช้ประสบการณ์ของตนเองเป็นหลักสำคัญ  ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในระดับของความคิดรวบยอด  หลักการ  กฎเกณฑ์  สมมุติฐาน  ความสัมพันธ์ ฯลฯ ผู้เรียนจะต้องอาศัยการแปลความหมายด้วยตนเอง  ซึ่งอาจจะมีการเพิ่ม  การขยาย 
การดัดแปลข้อมูลนั้นๆ

                                                                                                               นางสาวเปาะไอนี   ไซมามุ 
                                                                                                                เลขที่  10  วันอาทิตย์ ห้อง 1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น