วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเรียนรู้

การเรียนรู้
การเรียนรู้เป็นกระบวนการการเปลี่ยนแลงพฤติกรรมอย่างถาวรเกิดจากการนำประสบการณ์ในการฝึกหัดการเรียนรู้ที่จะต้องอาศัยระยะเวลาที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในบางอย่างอาจทำไม่ให้ก่อเกิดการเรียนรู้ได้  เหตุการณ์ที่มีส่วนเกี่ยวกับข้อกับแต่ละบุคคลมักจะเน้นถึงเหตุการณ์ที่เป็นรูปธรรม  ดังนั้น  การได้ยิ่งเสียงหรือการสัมผัสจะป็นลักษณะที่สำคัญอีกข้อหนึ่งของการเรียนรู้ที่จะต้องมีปัจจัยที่สำคัญอยู่2อย่างจะต้องมีความสำพันธ์กับเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดสิ่งเร้าหรือการตอสนองของพฤติกรรมเฉพาะที่สังเกตเห็นได้ในสถานการณ์หนึ่ง
 ลำดับการเรียนรู้ในการสังเกตออกเป็น  4  ขั้นตอน
                1.ความสนใจ  กฎการเรียนรู้ในลักษณะที่จะก่อให้เกิดความรู้เมื่อผู้เรียนมีการสนใจ
                2. ความจำ       การที่ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมตามแบบนั้นจะต้องอาศัยความจำ
                3. การลงมือทำ  เมื่อมีการเริ่มทำหรือการทำตามใหม่ๆ อาจดูไม่เป็นธรรมชาติ
                4. การจุ่งใจและการเสริมแรง   พฤติกรรมใดก็ตามถ้าบุคคลจะทำตามก็ต่อเมื่อพฤติกรรมมีความน่าสนใจและการเสริมแรงจะมีอิทธิพลต่อการเรียนมาก  และการเสริมแรงของตนเอง   จะมีความสำคัญเพราะจะเป็นตัวควบคุมการแสดพฤติกรรมได้ดี การสร้างความสำเร็จให้กับตัวเองในลักษณะนี้จะเป็นแรงจูงใจในการทำพฤติกรรมต่างๆ  ในขั้นนี้จะเป็นการเก็บรายเอียดตามลักษณะข้อมูลที่สำคัญและนำมาสร้างความสำพันธ์กับข้อมูลเดิม
องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้โดยการประมวลสารสนเทศ 
คุณลักษณะของผู้เรียนสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน เช่น ความรู้เดิม  ทัศนคติและกิจกรรมของผู้เรียนจะมีความเกี่ยวของกับการใช้สมองของผู้เรียนในขณะเกิดการเรียนรู้ที่ดี  ธรรมชาติของสิ่งที่เรียน  ข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลประเภทใด จะต้องมีการจัดลำดับเนื้อหาที่ดีมากน้อยเพียงใด และวิธีการประเมินผลสัมฤทธิของผู้เรียนในลักษณะต่างๆ  ที่ผู้เรียนสามารถแสดงออกเมื่อเรียนรู้แล้ว
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาซึ่งกำหนดโดย บลูม และคณะ  มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน    ด้าน    ดังนี้
                ๑.  ด้านพุทธิพิสัย  คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความจำ ความเข้าใจ  การนำไปใช้  การวิเคราะห์  การสังเคราะห์และประเมินผล
                ๒.  ด้านเจตพิสัย   คือ ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก  ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความรู้สึก ความสนใจ  ทัศนคติ การประเมินค่าและค่านิยม
                ๓.  ด้านทักษะพิสัย  คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติ ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท การเคลื่อนไหว  การกระทำ  การปฏิบัติงาน การมีทักษะและความชำนาญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น