วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเรียนรู้

                                                              การเรียนรู้

การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
แก้องค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ จากแนวคิดนักการศึกษา กาเย่
·         ผู้เรียน  มีระบบสัมผัสและ ระบบประสาทในการรับรู้สิ่งเร้า คือ สถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
·         การตอบสนอง  คือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้
·         การสอนด้วยสื่อตามแนวคิดของกาเย่
·         เร้าความสนใจ มีโปรแกรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน เช่น ใช้ การ์ตูน หรือ กราฟิกที่ดึงดูดสายตา
·         ความอยากรู้อยากเห็นจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียน การตั้งคำถามก็เป็นอีกสิ่งหนึ่
·         บอกวัตถุประสงค์ ผู้เรียนควรทราบถึงวัตถุประสงค์ ให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียนเพื่อให้ทราบว่าบทเรียนเกี่ยวกับอะไร
·         กระตุ้นความจำผู้เรียน สร้างความสัมพันธ์ในการโยงข้อมูลกับความรู้ที่มีอยู่ก่อน เพราะสิ่งนี้สามารถทำให้เกิดความทรงจำในระยะยาวได้เมื่อได้โยงถึงประสบการณ์ผู้เรียน โดยการตั้งคำถาม เกี่ยวกับแนวคิด หรือเนื้อหานั้นๆ
·         เสนอเนื้อหา ขั้นตอนนี้จะเป็นการอธิบายเนื้อหาให้กับผู้เรียน โดยใช้สื่อชนิดต่างๆ ในรูป กราฟิก หรือ เสียง วิดีโดย
·         การยกตัวอย่าง การยกตัวอย่างสามารถทำได้โดยยกกรณีศึกษา การเปรียบเทียบ เพื่อให้เข้าใจได้ซาบซึ้ง
·         การฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะหรือพฤติกรรม เป็นการวัดความเข้าใจว่าผู้เรียนได้เรียนถูกต้อง เพื่อให้เกิดการอธิบายซ้ำเมื่อรับสิ่งที่ผิด
·         การให้คำแนะนำเพิ่มเติม เช่น การทำแบบฝึกหัด โดยมีคำแนะนำ
·         การสอบ เพื่อวัดระดับความเข้าใจ

                                                          นายตูแวอิสมาแอ ตูแวบีรู

                                                    รหัส       5316417141     เลขที่  61
 

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทความการเรียนรู้

             การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
            ดังนั้นแนวคิดของการสอนซึ่งมุ่งให้ผู้เรียนมองเห็นส่วนรวมก่อน โดยเน้นเรียนจากประสบการณ์ (Perceptual experience) ทฤษฎีทางจิตวิทยาของกลุ่มนี้ซึ่งมีชื่อว่า Cognitive Field Theory  แนวคิดของทฤษฎีนี้จะเน้นความพอใจของผู้เรียน ผู้สอนควรให้ผู้เรียนทำงานตามความสามารถของเขาและคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จ การเรียนการสอนจะเน้นให้ผู้เรียนลงมือกระทำด้วยตัวเขาเอง ผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะ
            ดังนั้นการเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย จึงมีคำกล่าวเสมอว่า "No one too old to learn" หรือ ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดี

วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเรียนรู้

การเรียนรู้ ( Learning )
                           
 การเรียนรู้  หมายถึง   การที่มนุษย์ได้รับรู้ถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเขา โดยเริ่มต้นตั้งแต่การมีปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดาเรื่อยไป จนกระทั่งคลอดมาเป็นทารกแล้วอยู่รอด ซึ่งบุคคลก็ต้องปรับตัวเพื่อให้ตนเองอยู่รอดกับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในครรภ์มารดาและเมื่อออกมาอยู่ภายนอกเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่รอดทั้งนี้ก็เพราะการเรียนรู้ทั้งสิ้น
ซึ่งการเรียนรู้ดังกล่าวจะนำไปสู่กระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
                การเรียนรู้ มีความหมายลึกซึ้งมากกว่าการสั่งสอน หรือการบอกเล่าให้เข้าใจและจำได้เท่านั้น ไม่ใช่เรื่องของการทำตามแบบ ไม่ได้มีความหมายต่อการเรียนในวิชาต่างๆเท่านั้น แต่ความหมายคลุมไปถึง การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมอันเป็นผลจากการสังเกตพิจารณา ไตร่ตรอง แก้ปัญหาทั้งปวงและไม่ชี้ชัดว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปในทางที่สังคมยอมรับเท่านั้น การเรียนรู้เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้เป็นความเจริญงอกงาม เน้นว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นการเรียนรู้ต้องเนื่องมาจากประสบการณ์ หรือการฝึกหัด และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นควรจะต้องมีความคงทนถาวรเหมาะแก่เหตุเมื่อพฤติกรรมดั้งเดิมเปลี่ยนไปสู่พฤติกรรมที่มุ่งหวัง ก็แสดงว่าเกิดการเรียนรู้แล้ว
                จากความหมายของการเรียนรู้ข้างต้นอาจสรุปได้ว่า   การเรียนรู้  หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลจากการที่บุคคลทำกิจกรรมใดๆ ทำให้เกิดประสบการณ์และเกิดทักษะต่างๆ ขึ้นยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร
             นางสาวนิภาพร  สาลัง
รหัสนักศึกษา               เลขที่  71

วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการเรียนรู้

ทฤษฎีการเรียนรู้
การเรียนรู้ คือ กระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
ลักษณะสำคัญของการเรียนรู้ คือ จะต้องเป็นปฏิสัมพันธ์กันระหว่างเหตุการณ์ 2 อย่างคือ
1 เหตุการณ์ที่เป็นสิ่งเร้า                        
2 การตอบสนอง
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบพฤติกรรมนิยม  เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองอันนำไปสู่ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม
1 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค คือ การตอบสนองที่เป็นไปโดยอัตโนมัติเมื่อนำสิ่งเร้าใหม่มาควบคู่กับสิ่งเร้าเดิม ซึ่งนักจิตวิทยาเรียกพฤติกรรมการตอบสนองนี้ว่าพฤติกรรมเรสปอนเด้นท์
2 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ ผู้ที่เป็นเจ้าของทฤษฎีนี้คือ สกินเนอร์ เขามีความคิดเห็นว่า ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้นจำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่มนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเองไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของพาฟลอฟ
3 ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยง ผู้ที่ทำการทดลองในเรื่องนี้คือ ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้คือธอรฺนไดน์ กล่าวว่าการเรียนรู้คือ การที่ผู้เรียนสามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองและได้รับความพึงพอใจที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
1 ลำดับขั้นการเรียนรู้                           
2 ผลที่ได้จากการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม  ทฤษฎีนี้จะให้ความสำคัญกับความสามารถในการตั้งวัตถุประสงค์ การวางแผน ความตั้งใจ ความคิด ความจำ ความคัดเลือก การให้ความหมายกับสิ่งเร้าต่างๆที่ได้จากประสบการณ์เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มพฤติกรรมนิยมจะเห็นว่ามีความแตกต่างกัน
1 ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้
2 ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการประมวลผลสารสนเทศ
3 การเรียนรู้เกี่ยวกับความคิดของตนเอง
4 การเรียนโดยรู้ความหมาย  


นางสาวอาอีซาห์  หะยีเตะ
รหัส  5316417081
เลขที่   1

การเรียนรู้

ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
                การเรียนรู้ (Learning) หมายถึง "การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปจากเดิม อันเป็นผลมาจากการได้รับประสบการณ์" พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงในที่นี้ มิได้หมายถึงเฉพาะพฤติกรรมทางกายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพฤติกรรมทั้งมวลที่มนุษย์แสดงออกมาได้ ซึ่งจะแยกได้เป็น 3 ด้านคือ
                1. พฤติกรรมทางสมอง (Cognitive) หรือพุทธิพิสัย เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง (Fact) ความคิดรวบยอด (Concept) และหลักการ (Principle)
                2. พฤติกรรมด้านทักษะ (Psychromotor) หรือทักษะพิสัย เป็นพฤติกรรมทางกล้ามเนื้อ แสดงออกทางด้านร่างกาย เช่น การว่ายน้ำ การขับรถ อ่านออกเสียง แสดงท่าทาง
                3.พฤติกรรมทางความรู้สึก (Affective) หรือจิตพิสัย เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายในเช่น การเห็นคุณค่า เจตคติ ความรู้สึกสงสาร เห็นใจเพื่อนมนุษย์ เป็นต้น
                นักการศึกษา ได้ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของ มนุษย์ มีผลการศึกษาที่สอดคล้องกัน สรุปเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ 2 ทฤษฎีคือ
1 ทฤษฎีสิ่งเร้าและการตอบสนอง (S-R Theory)
                2 ทฤษฎีสนามความรู้ (Cognitive Field Theory)
ทฤษฎีสิ่งเร้าและการตอบสนอง
                ทฤษฎีนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะในภาษาอังกฤษ มีชื่อเรียกต่างๆ เช่น Associative Theory, Associationism, Behaviorism เป็นต้น นักจิตวิทยาที่สำคัญในกลุ่มนี้ คือ พาฟลอฟ (Pavlov) วัตสัน (Watson) ธอร์นไดค์ (Thorndike) กัทธรี (Guthrie) ฮัล (Hull) และสกินเนอร์ (Skinner) ทฤษฎีนี้อธิบายว่า พื้นฐานการกระทำซึ่งเป็นผลมาจากการเรียนรู้ของแต่คน ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม หน้าที่ของผู้สอน คือ คอยเป็นผู้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
หลักการของทฤษฎีสิ่งเร้าและการตอบสนอง
                1.การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการตอบสนอง หรือให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ตามที่ต้องการเช่น การให้รางวัล หรือการทำโทษ หรือการชมเชย เป็นต้น ผู้สอนจึงควรจะหาวิธีจูงใจ ให้ผู้เรียนมีความอยากเรียนให้มากที่สุด
                2. การฝึกฝน (Practice) ได้แก่การให้ทำแบบฝึกหัดหรือการฝึกซ้ำ เพื่อให้เกิดทักษะในการแก้ปัญหาที่สัมพันธ์กัน โดยเฉพาะวิชาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติ
                3.การรู้ผลการกระทำ (Feedback) ได้แก่ การที่สามารถให้ผู้เรียนได้รู้ผลการปฏิบัติได้ทันทีเพื่อจะทำให้ผู้เรียนได้ปรับพฤติกรรมได้ถูกต้องอันจะเป็นหนทางการเรียนรู้ที่ดี หน้าที่ของผู้สอนจึงควรจะต้องพยายามทำให้วิธีสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์แห่งความสำเร็จ
                4 .การสรุปเป็นกฎเกณฑ์ (Generaliation) ได้แก่ การได้รับประสบการณ์ต่าง ๆ ที่สามารถสร้างมโนทัศน์ (Concept) จนกระทั่งสรุปเป็นกฎเกณฑ์ที่จะนำไปใช้ได้
                5. การแยกแยะ (Discrimination) ได้แก่ การจัดประสบการณ์ ที่ผู้เรียนสามารถแยกแยะความแตกต่างของข้อมูลได้ชัดเจนยิ่งขึ้นอันจะทำให้เกิดความสะดวกต่อการเลือกตอบสนอง
                6. ความใกล้ชิด (Continuity) ได้แก่ การสอนที่คำนึงถึงความใกล้ชิดระหว่าง สิ่งเร้าและการตอบสนองซึ่งเหมาะสำหรับการสอนคำ เป็นต้น

                                                                                นางสาวนุรณี อุเต๊ะ   เลขท่ี  51  

บทความการเรียนรู้

การเรียนรู้
            การเรียนรู้  หมายถึง  กระบวนการที่อินทรีย์มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวร  หรือค่อนข้างถาวร  อันเนื่องมาจากประสบการณ์  หรือการฝึกหัดที่เรียกว่าเป็นกระบวนการ  เพราะการเรียนรู้ต้องอาศัยระยะเวลาในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม
            การเรียนรู้มีความหมายอยู่  2  ประการ  คือ  1.  กระบวนการเรียนรู้  คือ  ขั้นตอน  วิธีการต่างๆที่จะได้มาซึ่งความรู้  2.  ผลการเรียนรู้  คือ  ความรู้ความเข้าใจในสาระต่างๆ  และการเรียนรู้นั้นก็เกิดขึ้นได้มี  3  ประการดังนี้  1.  การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้งห้า  2.  การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว  3.  การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการศึกษาหาความรู้  ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งของการเรียนรู้  คือ  จะต้องเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์  2  อย่างคือ  1.  เหตุการณ์ที่เป็นสิ่งเร้า  การศึกษาในเรื่องสิ่งเร้านี้นักจิตวิทยาจะให้ความสำคัญกับเรื่องความมากน้อยของสิ่งเร้านั้น  และระยะเวลาของการเกิดสิ่งเร้า   2.  การตอบสนอง  การตอบสนองของอินทรีย์  คือ  พฤติกรรมเฉพาะอย่างที่สามารถสังเกตเห็นได้ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง
            สามารถสรุปได้ว่า  การเรียนรู้  หมายถึง  กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ถาวร  หรือค่อนข้างถาวร  และพฤติกรรมใหม่นี้เป็นผลมาจากประสบการณ์  หรือการฝึกฝน  มิใช่เป็นผลจากการตอบสนองตามธรรมชาติ  หรือสัญชาตญาณ  หรือวุฒิภาวะ  หรือพิษยาต่างๆ  หรืออุบัติเหตุ  หรือความบังเอิญ  พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปต้องเปลี่ยนไปอย่างถาวร  หรือค่อนข้างถาวร  จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น  หากเป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว   ก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้   


นางสาวฮูดา  สะมะเด็ง
รหัส  5316417082
เลขที่  2

บทความเรื่องการเรียนรู้

การเรียนรู้
การเรียนรู้   คือเป็นการค้นคว้าหาหาความรู้ในสิ่งใหม่โดยไม่มีข้อจำกัดขอบเขตในการาค้นคว้าความรู้ในสิ่งใหม่ๆ  ได้แก่ตัวเองให้มากที่สุดเท่าที่จะค้นคว้าได้  และการเรียนรู้ได้จากเรียนรู้ประสบการณ์ที่ตัวเองได้สัมผัสและได้พบเห็นกับตัวเองด้วยและการเรียนรู้เป็นสิ่งที่คอยกระตุ้นให้เราได้อยากค้นหาความจริงเพื่อให้เราประสบความสำเร็จและเรียนรู่ในสิ่งที่เราอยากรู้ในทุกๆ เรื่องที่เราอยากเรียนรู้ในทุกๆเรื่อง   และได้กระตุ้นให้ประสาทสัมผัสได้ทำงานและการเรียนได้  คิดอยู่ตลอดเวลาและการเรียนรู้ได้ทำให้สมองได้ทำงานโดยที่ไม่ได้หยุดนิ่ง   และการเรียนรู้ของแต่ละคนขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของแต่ละคน   และการเรียนรู้ได้ฝึกหัดให้คนเกิดทักษะในการแก้ปัญหาได้   แล้วการเรียนรู้ยังได้ช่วยปรับพฤติกรรมของคนได้ถูกต้องและได้ดีเท่าคนที่ไม่ได้แสวงหาการเรียนรู้เลย  แถมการเรียนรู้   ยังสามารถแยกแยะความแตกต่างของข้อมูลได้ชัดเจนและสะดวกต่อการเลือกตอบสนองและการเรียนรู้ได้วางเงื่อนไข สามารถควบคุมพฤติกรรมของตัวเองได้   การเรียนรู้ทำให้รู้จักการแสวงหาความรู้   รู้จักสร้างสรรค์   นำความรู้ไปแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้  การเรียนรู้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในลักษณะต่างๆ   เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด   และการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและเกิดทักษะอย่างกว้างขวางซึ้งจะเป็นวิธีการที่ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของความรู้ และการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน   การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเกิดจากประสบการณ์ที่มีขอบเขตกว้างขวางและสลับซับซ้อนมาก   โดยเฉพาะในแง่ของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม   แล้วการเรียนรู้สามารถสังเกตและวัดได้จากการเรียนรุ้ของผู้เรียนจำเป็นต้องสังเกตและวัดพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป   นำสู่การเรียนรู้ต่างๆ   จะช่วยทำให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ไปตามวัตถุประสงค์   สุดท้ายการเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต   มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย  หรือไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน   การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดี
                                                                นางนอรียะ   กาเส็มส๊ะ      เลขที่  24

บทความเรื่องการเรียนรู้

การเรียนรู้ (Learing)  คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ได้จากการรับรู้จากการสัมผัส การได้ยินเสียง การเห็นภาพและสิ่งแวดล้อมซึ่งได้มาจากประสมการณ์ที่สะสมมา หรือความสามารถที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในของแต่ละบุคคล ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่แสดงออกมาจะไม่แสดงออกมาให้เห็นเป็นพฤติกรรมที่ชัดเจนได้
พฤติกรรมทั้งมวลที่มนุษย์แสดงออกมาได้ ซึ่งจะแยกออกได้เป็น3 ด้านคือ
   1. พฤติกรรมด้านสมอง หรือพุทธินิสัย  เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงความคิดรวมยอดและ หลักการ
  2.พฤติกรรมด้านทักษะ หรือทักษะพิสัย เป็นพฤติกรรมล้ามเนื้แสดงสำคัญออกมาด้านร่างกาย เช่นว่ายน้ำ  การขับรถ  การออกเสียงการแสดงท่าทาง เป็นต้น
  3. พฤติกรรมด้านความรู้สึกหรือจิตพิสัย เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายใน เช่น การเห็นคุณค่า  เจตคติ    ความรู้สึกสงสาร   เห็นใจเพื่อนมนุษย์ เป็นต้น
ลักษณะสำคัญของกระบวนการเรียนรู้
  1.การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาหรือกระบวนการทางสมอง
  2.การเรียนรู้เป็นงานเฉพาะตนหรือเป็นประสบการณ์ส่วนตัว
  3.การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคม
  4.การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นได้ทั้งจากการคิดและการกระทำรวมทั้งการแก้ปัญหาและการศึกษาวิจัยต่างๆ
  5.การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ตื่นตัวสนุก
  6.การเรียนรู้อาศัยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
  7.การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่
  8.การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลง
  9.การเรียนรู้เป็นกระบวนการต่อเนื่องตลอดชีวิต
                ดังนั้นคนเราจะมีวิธีการเรียนรู้และแก้ปัญหา โดยอาศัยความคิดและประสบการณ์เดิม
มากกว่าการลองผิดลองถูก เมื่อสามารถแก้ปัญหาในลักษณะนั้นได้แล้ว เมื่อเผชิญกับปัญหาที่คล้ายคลึงกันก็จะสามารถแก้ปัญหาได้ทันที่                                                                          
                                                                                 
                                                                                                  โดย   นางสาวยุพา      วานิ
                                                                                           รหัส   5316417094       เลขที่  14

เรื่อง การเรียนรู้

        การเรียนรู้  หมายถึง  กระบวนการที่อีนทรีย์มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวรหรือค่อนข้างถาวร  อันเนื่องมาจากประสบการณ์หรือการฝึกหัดที่เรียกว่ากระบวนการ  เพราะการเรียนรู้ต้องอาศัยระยะเวลาในการก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม  ลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการเรียนรู้  คือจะต้องปฏิสัมพันธ์กันระหว่างเหตุการณ์  2  อย่าง คือ 1)  เหตุการณ์ที่เป็นสิ่งเร้า คือการศึกษาในเรื่องสิ่งเร้านักจิตวิทยาให้ความสำคัญเรื่องความมาก-น้อยของสิ่งเร้านั้นและระยะเวลาของการเกิดสิ่งเร้า   2) การตอบสนอง คือ พฤติกรรมเฉพาะอย่างที่สามารถสังเกตเห็นได้ในสภาพการณ์ใดสภาพการณ์หนึ่ง                                                                  ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม  เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองอันไปไปสู่ความสามารถในการแสดงพฤติกรรมมี  3  ทฤษฎีคือ 1) ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค  2)ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ  3)ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยง
                ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม  นักจิตวิทยาหลายคนขยายการศึกษาออกไปโดยสนใจกระบวนการคิด  ที่มีผลต่อการเรียนรู้ซึ่งไม่สามารถจะเห็นได้โดยตรง    ผู้นำที่สำคัญ  คือบันดูรา  ได้ตั้งทฤษฎี  ชื่อการเรียนรู้โดยการสังเกตได้อธิบายว่าการเรียนรู้ต้องปฏิสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม
                ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม  ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพุทธินิยมนี้ให้ความสำคัญกับความสามารถในการตั้งวัตถุประสงค์การ  วางแผน  ความตั้งใจ  ความคิด  ความจำ  การคัดเลือก  การให้ความหมายสิ่งเร้าต่างๆ  ที่ได้จากประสบการณ์  เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มพฤติกรรมนิยมแล้วจะเห็นความแตกต่างกันดังนี้
                1) ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้  คือ  เป็นการศึกษาทดลองนักจิตวิทยาชาวเยอรมันซึ่งเรียกว่า  กลุ่มเกสตัสท์  ซึ่งประกอบด้วยนักจิตวิทยาที่สำคัญ  3  คน  คือ  เวอร์ไทเมอร์  คอฟฟ์ฟก้า  และเคอเลอร์ 
2) ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการประมวลสารสนเทศ  คือ  นักจิตวิทยากลุ่มพุทธินิยมมีความสนใจว่ามนุษย์มีวิธีการรับข้อมูลใหม่อย่างไร   เมื่อได้รับความรู้แล้วมีวิธีการจำอย่างไร  สิ่งที่เรียนรู้แล้วจะมีผลต่อการเรียนรู้ข้อมูลใหม่อย่างไร  ปัจจุบันทฤษฎีนี้กำลังได้ความสนใจและนำไปใช้ประโยชน์ได้มากในวงการศึกษา
3) การเรียนรู้เกี่ยวกับความคิดของตนเอง  คือ  การเรียนจะมีประสิทธิภาพต่อเมื่อผู้เรียนควบคุมตนเองได้  ฟลาแวล  ได้อธิบายไว้โดยเน้นถึงกระบวนการเรียนรู้ที่จะต้องอาศัยความสามารถทางปัญญาโดยใช้คำว่า  (Metacognition) เพื่ออธิบายว่าผู้เรียนรู้จะต้องรู้เกี่ยวกับกระบวนการคิดของตน
4) การเรียนโดยรู้ความหมาย  คือ  การเรียนรู้ด้วยวิธีนี้ได้รับอิทธิพลมาจาก  บรูนเนอร์  การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพก็เพราะผู้เรียนสามารถแปลความหมายของข้อมูลโดยใช้ประสบการณ์ของตนเองเป็นหลักสำคัญ  ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในระดับของความคิดรวบยอด  หลักการ  กฎเกณฑ์  สมมุติฐาน  ความสัมพันธ์ ฯลฯ ผู้เรียนจะต้องอาศัยการแปลความหมายด้วยตนเอง  ซึ่งอาจจะมีการเพิ่ม  การขยาย 
การดัดแปลข้อมูลนั้นๆ

                                                                                                               นางสาวเปาะไอนี   ไซมามุ 
                                                                                                                เลขที่  10  วันอาทิตย์ ห้อง 1

บทความเรื่อง การเรียนรู้

การเรียนรู้  (Learning)
        การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ตลอดชีวิต คำจำกัดความที่นักจิตวิทยา    มักจะกล่าวอ้างอยู่เสมอ    แต่ยังไม่ถึงกับเป็นที่ยอมรับ กันอย่างสากล คือ คำจำกัดความของ คิมเบิล (Gregory A Kimble) 
คิมเบิล กล่าวว่า การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงศักยภาพแห่งพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร ซึ่งเป็นผลมาจากการฝึกหรือการปฏิบัติที่ได้รับ การเสริมแรง (Learning  as  a relatively  permanent change in behavioral potentiality that occurs as a result of reinforced practice) ”
        จากความหมายของการเรียนรู้ข้างต้นแยกกล่าวเป็นประเด็นสำคัญได้  5 ประการ  คือ
        1. การที่กำหนดว่า การเรียนรู้  คือ  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ก็แสดงว่าผลที่เกิดจากการเรียนรู้ จะต้องอยู่ใน รูปของพฤติกรรม ที่สังเกตได้ หลังจากเกิดการเรียนรู้แล้ว ผู้เรียนสามารถทำสิ่งหรือเรื่องที่ไม่เคยทำมาก่อนการเรียนรู้นั้น
        2. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้น ต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวร นั่นก็คือ พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้น จะไม่เป็นพฤติกรรมในช่วงสั้น หรือเพียงชั่วครู่ และในขณะเดียวกันก็ ไม่ใช่พฤติกรรมที่คงที่ที่ไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป
        3. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปอย่างทันทีทันใด แต่มันอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงศักยภาพ (Potential) ที่จะกระทำ สิ่งต่าง ๆ ต่อไปในอนาคต การเปลี่ยนแปลง ศักยภาพนี้อาจแฝงอยู่ในตัวผู้เรียน ซึ่งอาจจะยังไม่ได้แสดงออกมา เป็นพฤติกรรมอย่าง ทันทีทันใดก็ได้
        4. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือการเปลี่ยนแปลงศักยภาพในตัวผู้เรียนนั้นจะเป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกเท่านั้น  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือศักยภาพอันเนื่องมาจากสาเหตุอื่นไม่ถือเป็นการเรียนรู้
        5. ประสบการณ์หรือการฝึกต้องเป็นการฝึกหรือปฏิบัติที่ได้รับการเสริมแรง (Reinforced practice) หมายความว่า เพียงแต่ผู้เรียนได้ รับรางวัลหลังจากที่ตอบสนอง  ก็จะให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นในแง่นี้คำว่า รางวัลกับ ตัวเสริมแรง” (Reinforce) จะให้ความหมายเดียวกัน ต่างก็คือหมายถึงอะไรบางอย่างที่อินทรีย์ (บุคคล) ต้องการ
        ปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้
        ในสภาพการเรียนรู้ต่างๆ ย่อมประกอบด้วยปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการ ด้วยกัน คือ 
        1. ตัวผู้เรียน (Learner)  
        2. เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เป็นตัวเร้า (Stimulus Situation)
        3. การกระทำหรือการตอบสนอง Action หรือ Response   
                                         
                                                                นางสาวซุไรนี   บินมูซอ
                                                                เลขที่ 43 อาทิตย์ ห้อง 1

ทฤษฎีการเรียนรู้

การเรียนรู้หมายถึง  กระบวนการ ที่อินทรีย์มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวรหรือข่อนข้างถาวร อันเนื่องมาจากประสบการณ์หรือการฝึกหัดที่เรียกว่าเป็นกระบวนการเพราะการเรียนรู้ต้องอาศัยระยะเวลาในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม   การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมบางอย่างอาจไม่ได้เกิดการเรียนรู้  นักจิตวิทยาส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องของประสบการณ์ หรือการฝึกหัดว่าเป็นสิ่งสำคัญในก่อให้เกิดการเรียนรู้  การเรียนรู้จะต้องปฏิสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์  2  อย่างคือ 
1. เหตุการณ์ที่เป็นสิ่งเร้า   การศึกษาในเรื่องสิ่งเร้านี้นักจิตวิทยาจะให้ความสำคัญกับเรื่องระดับความมากหรือน้อยของสิ่งเร้า  และระยะเวลาของกราเกิดสิ่งเร้า
2. การตอบสนอง  การตอบสนองของอินทรีย์คือ พฤติกรรมเฉพาะอย่างที่สามารถสังเกตเห็นได้ในสภาพการณ์ใดสภาพการณ์หนึ่ง
การเรียนรู้ของมนุษย์สามารถรับข้อมูลต่างๆในแต่ละครั้งรับมากและในแต่ละครั้งรับน้อย  การรับรู้ของมนุษย์จะนำเข้าสู่ความจำ  ระดับความจำจะสั้นหรือยาวขึ้นอยู่กับความสามารถหรือประสิทธิภาพของมนุษย์นั้นเอง
องค์ประกอบของการเรียนรู้  ซึ่งนักจิตวิทยาในกลุ่มพุทธินิยมให้ความสำคัญมี  4  ประการ
1.       คุณลักษณะของผู้เรียน
2.       กิจกรรมของผู้เรียน
3.       ธรรมชาติของสิ่งเรียน
4.       วิธีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน




โดยนายอิบราเฮง      เจะและ      เลขที่ 31


การเรียนรู้

 การเรียนรู้ คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน  ซึ่งลักษณะสำคัญของปฎิสัมพันธ์มีอยู่ 2 เหตุการณ์ คือ
1.เหตุการณ์ที่เป็นสิ่งเร้า นักจิตวิทยาจะให้ความสำคัญในเรื่องระดับความ มาก- น้อย ของสิ่งเร้า และระยะเวลาของการเกิดสิ่งเร้า
2.การตอบสนอง  พฤติกรรมเฉพาะอย่างที่สามารถสังเกตได้ในสภาพการณ์ใดสภาพการณ์หนึ่ง
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม   เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนอง โดยจะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองอันนำไปสู่ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม  ซึ่งทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theory) ทฤษฎีการเสริมแรง (Stimulus-Response Theory)
             ทฤษฎีสิ่งเร้าและการตอบสนอง  นักจิตวิทยาที่สำคัญในกลุ่มนี้ คือ พาฟลอฟ (Pavlov) วัตสัน (Watson) ธอร์นไดค์ (Thorndike) กัทธรี (Guthrie) ฮัล (Hull) และสกินเนอร์ (Skinner) ทฤษฎีนี้อธิบายว่า พื้นฐานการกระทำซึ่งเป็นผลมาจากการเรียนรู้ของแต่คน ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม หน้าที่ของผู้สอน คือ คอยเป็นผู้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
ทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอน ได้ ในลักษณะต่างๆ เช่น การจัดสภาพที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอน การจูงใจ การรับรู้ การเสริมแรง การถ่ายโยงการเรียนรู้ ฯลฯ   เกสตัลท์ (Gestalt) กล่าวว่า การถ่ายโยงการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้มองเห็นรูปร่างทั้งหมดของปัญหา และรับรู้ความสัมพันธ์นั้นเข้าไป กล่าวคือ สถานการณ์ใหม่จะต้องสัมพันธ์กับสถานการณ์เดิม
ลำดับขั้นของการเรียนรู้
                ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ (1) ประสบการณ์ (2) ความเข้าใจ และ (3) ความนึกคิด
              การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย จึงมีคำกล่าวเสมอว่า "No one too old to learn" หรือ ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดี




                                                                                         โดย นางสาวเฟาซียะห์    เจะและ
                                                                                         รหัสนักศึกษา 5316417117   เลขที่ 37

การเรียนรู้

         คนทุกคนบนโลกนี้ล้วนแต่ต้องการดิ้นรนในสิ่งที่ดีเพื่อตัวเองทั้งนั้นซึ่งการเรียนรู้เป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตเพื่อความอยู่รอด เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ติดตัวตลอดชีวิต และความรู้จะเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา ทุกสถานที่ส่วนใหญ่จะต้องอาศัยสิ่งแวดล้อม สิ่งร้าวหรือเหตุการณ์ต่างๆเพื่อเอื้ออำนวยแก่การค้นคว้า ค้นหาความรู้จึงทำให้เกิดประสปการณ์ที่ดีมีคุณค่าต่อการจดจำ
         สังคมไทยปัจจุบันเป็นสังคมแห่งการการพัฒนา เป็นสังคมที่ทันสมัยและเป็นสังคมยุคโลกาภิวัฒน์มีความเจริญก้าวหน้ามีเทคโนโลยีที่เพรียบพร้อม ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากอดีต การเรียนรู้ก็เหมือนกันเกิดการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆไม่หยุดนิ่งและยังคงเกิดการเรียนรู้ตลอดเวลา  ซึ่งการเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการรับรับรู้ได้มาซึ่งประสบการณ์ที่ได้สะสมมาแล้วก่อให้เกิดการเรียนรู้ นอกจากนี้ การเรียนรู้เป็นกระบวนการ เป็นกึ่งศาสตร์หรือการศึกษาจากประสบการณ์ที่ผ่านมาโดยปราศจากกฎเกณฑ์ ซึ่งจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้สิ่งแรก คือต้องเริ่มจากการสนใจ สนใจสิ่งรอบๆตัว สนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วศึกษาให้ท่องแท้หาคำตอบให้ได้เปลี่ยนความคิด เปลี่ยนมุมมองทัศนคติแล้วทำให้เกิดความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่ล้ำค่า   นอกจากนี้การเรียนรู้ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ๆ และการเรียนรู้ต้องอาศัยระยะเวลา ความสามารถที่ซ่อนเร้นอยู๋ในโลก ซึ่งโลกของปัจจุบันเป็นโลกแห่งการเรียนรู้มีความรู้ที่มากกว่าเมื่อก่อน มีความรู้ที่ต้องการค้นหา ศึกษาเพื่อให้ได้ความรู้ที่แปลกๆใหม่ๆ ซึ่งจะต้องเป็นไปตามขั้นตอนหรือวิธีการช่วยที่เรียกว่าสิ่งเร้า ผลที่ได้คือความรุ ความเข้าใจในสาระต่างๆและความสามารถในการกระทำ การใช้ทักษะกระบวนการต่างๆรวมทั้งความรู้สึกหรือเจตคติอันเป็นผลที่เกิดจากการเรียนรู้ทั้งสิ้น และการเรียนรู้ไม่ใช่เฉพาะในห้องเรียนแคบๆมีแต่โต๊ะ เก้าอี้ และหนังสือเก่าๆที่เคยอ่านมาแล้ว แต่เราก็มีความรู้ที่ได้จากครู อาจารย์ที่เป็นคนสอนเรา เมื่อนักเรียนคนใดต้องความรู้ก็สามารถถามได้ตลอดเวลาเหมือนหังสือเล่มใหญ่เล่มหนึ่งมีแต่ความรู้ทั้งสิ้นต้องการแค่นักเรียนค้นคว้าด้วยการถาม คำถามที่ต้องการ ที่สงสัยในที่สุดนักเรียนก็เกิดการเรียนรู้ที่ได้จากในห้องเรียน แต่ยังไม่พอแค่นี้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ เมื่อเราเดินแต่ละก้าวการเรียนรู้ก็จะเกิดขึ้นมาเสมอ
            กล่าวโดยสรุปว่า การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการรับรู้ได้มาซึ่งความรู้ และประสบการณ์ที่สะสมมาแล้วเป็นระยะเวลาอันยาวนานแล้วทำให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้จะต้องลงมือทำ ฝึกฝนอยู่บ่อยๆ และการเรียนรู้ไม่ใช่เฉพาะแค่ในห้องเรียน แต่เกิดขึ้นทุกที่ มีแหล่งเรียนรู้ต่างๆที่รอการเรียนรู้และค้นคว้าเพื่อคนทุกคน เหมือนที่ว่าการเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุดนอกจากคนเราไม่ต้องการที่จะเรียนรู้

บทความการเรียนรู้

การเรียนรู้
การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบสอนรวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
ขั้นการเรียนโดยการสังเกตออกเป็น4ขั้นดั้งนี้                                                                                                                                     ความสนใจ  การเรียนรู้ลักษณะนี้จะเกิดขึ้นได้ก็เมื่อผู้เรียนมีความสนใจและความใส่ใจและเอาใจใส่ที่เด่นเป็นต้น                                 ความจำ การเรียนจะแสดงพฤติกรรมตามแบบได้ต้องอาศัยความจำซึ่งอาจจะกระทำได้โดยอธิบายซ้ำๆหลายๆครั้ง                                               การลงมือกระทำ  เริ่มทำตามใหม่ๆนั้นอาจจะไม่เป็นธรรมชาติต้องอาศัยการฝึกฝนแนะนำ                                                                                               การจูงใจและเสริมแรง  พฤติกรรมใดๆก็ตามที่บุคคลจะทำตามก็ต่อเมื่อพฤติกรรมนั้นมีความน่าสนใจ
องค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ จากแนวคิดนักการศึกษา กาเย่ (Gagne)  ผู้เรียน ( Learner) มีระบบสัมผัสและ ระบบประสาทในการรับรู้
  • สิ่งเร้า ( Stimulus) คือ สถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
  • การตอบสนอง (Response) คือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้
  • การสอนด้วยสื่อตามแนวคิดของกาเย่ (Gagne)
  • เร้าความสนใจ มีโปรแกรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน เช่น ใช้ การ์ตูน หรือ กราฟิกที่ดึงดูดสายตา
  • ความอยากรู้อยากเห็นจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียน การตั้งคำถามก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง
  • บอกวัตถุประสงค์ ผู้เรียนควรทราบถึงวัตถุประสงค์ ให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียนเพื่อให้ทราบว่าบทเรียนเกี่ยวกับอะไร กระตุ้นความจำผู้เรียน สร้างความสัมพันธ์ในการโยงข้อมูลกับความรู้ที่มีอยู่ก่อน เพราะสิ่งนี้สามารถทำให้เกิดความทรงจำในระยะยาวได้เมื่อได้โยงถึงประสบการณ์ผู้เรียน โดยการตั้งคำถาม เกี่ยวกับแนวคิด หรือเนื้อหานั้นๆ                            เสนอเนื้อหา ขั้นตอนนี้จะเป็นการอธิบายเนื้อหาให้กับผู้เรียน โดยใช้สื่อชนิดต่างๆ ในรูป กราฟิก หรือ เสียง วิดีโอ การสอนด้วยสื่อตามแนวคิดของกาเย่ (Gagne)
  • เร้าความสนใจ มีโปรแกรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน เช่น ใช้ การ์ตูน หรือ กราฟิกที่ดึงดูดสายตา
  • ความอยากรู้อยากเห็นจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียน การตั้งคำถามก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง
  • บอกวัตถุประสงค์ ผู้เรียนควรทราบถึงวัตถุประสงค์ ให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียนเพื่อให้ทราบว่าบทเรียนเกี่ยวกับอะไร
  • กระตุ้นความจำผู้เรียน สร้างความสัมพันธ์ในการโยงข้อมูลกับความรู้ที่มีอยู่ก่อน เพราะสิ่งนี้สามารถทำให้เกิดความทรงจำในระยะยาวได้เมื่อได้โยงถึงประสบการณ์ผู้เรียน โดยการตั้งคำถาม เกี่ยวกับแนวคิด หรือเนื้อหานั้นๆ
  • เสนอเนื้อหา ขั้นตอนนี้จะเป็นการอธิบายเนื้อหาให้กับผู้เรียน โดยใช้สื่อชนิดต่างๆ ในรูป กราฟิก หรือ เสียง วิดีโอ
  • การยกตัวอย่าง การยกตัวอย่างสามารถทำได้โดยยกกรณีศึกษา การเปรียบเทียบ เพื่อให้เข้าใจได้ซาบซึ้ง
  • การฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะหรือพฤติกรรม เป็นการวัดความเข้าใจว่าผู้เรียนได้เรียนถูกต้อง เพื่อให้เกิดการอธิบายซ้ำเมื่อรับสิ่งที่ผิด
  • การให้คำแนะนำเพิ่มเติม เช่น การทำแบบฝึกหัด โดยมีคำแนะนำ
  • การสอบ เพื่อวัดระดับความเข้าใจ
  • การนำไปใช้กับงานที่ทำในการทำสื่อควรมี เนื้อหาเพิ่มเติม หรือหัวข้อต่างๆ ที่ควรจะรู้เพิ่มเติม
  • นางสาวพาซียะ    สามะ