วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทความการเรียนรู้

*****  การเรียนรู้ *****
          การเรียนรู้ เป็นกระบวนการหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา   เพราะเราเรียนรู้มาตั้งแต่เกิดไม่ว่าจะมาจากประสบการณ์หรือจากสิ่งที่ได้พบเห็น ได้เจอ ล้วนเป็นการเรียนรู้ทั้งนั้น  การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  หรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ที่เป็นผู้ลงมือกระทำเองซึ่งไม่ใช้เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่า หรือการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถสร้างความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  ดังนั้นทฤษฎีเหล่านี้ล้วนเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยกันทั้งนั้น
          สำหรับทฤษฎีการเรียนรู้อีกทฤษฎีหนึ่งที่เหมาะกับการศึกษานั้นซึ่งเรากำลังศึกษาอยู่นััน นั้นก็คือทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยทฤษฎีเชื่อว่า การศึกษาเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้  แต่ความจริงมีมากกว่าการเรียนรู้  เพราะสามารถนำไปใช้ในสภาวะการเรียนรู้ในสังคม  เด็กที่ได้รับการสอนด้วยวิธีการให้อย่างเดียว  หรือแบบเดียวจะเสีนโอกาสในการพัฒนาด้านสังคม  ถ้าหากมีรูปแบบ แบบเดียว ก็จะเสียโอกาสที่จะมีโครงสร้างหรือพัฒนาไปในด้านอื่นๆด้วย นอกจากนี้รูปแบบที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ ไม่ใช้เป็นผู้รับอย่างเดียว ดังนั้นผู้เรียน ก็คือผู้สอนนั้นเอง  แต่ในระบบการศึกษาทุกวันนี้ รูปแบบโครงสร้างจะตรงกันข้ามกับความคิดดังกล่าว โดยครูหยิบยื่นความรู้ให้ แล้วกำหนดให้ผู้เรียนเป็นผู้รับความรู้นั้น ดังนั้นทฤษฎีนี้จึงให้ความสำคัญกับโอกาสและวัสดุที่ใช้ในการเรียนการสอน ที่เด็กสามารถนำไปสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นภายในตัวเด็กเองได้ ครูต้องเข้าใจธรรมชาติของกระบวนการเรียนรู้ที่ส้างความรู้ให้เกิดขึ้นภายในตัวเด็ก เองได้ และครูต้องเข้าใจอีกว่ากระบวนการเรียนรู้ที่เด็กกำลังเรียนรู้และช่วยเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้นั้นให้เป็นไปได้ดีขึ้นตามธรรมชาติของเด็กแต่ละคน และครูควรคิดค้นพัฒนาสิ่งอื่นๆด้วย เช่นคิดค้นว่าจะให้โอกาสแก่ผู้เรียนอย่างไรจึงจะให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ขึ้นเองได้ ถ้าเราให้ความสนใจเช่นนี้ เราก็จะหาทางพัฒนาและสร้างวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนใหม่ๆ หรือหาวิธีที่จะใช้อุปกรณ์การเรียนการสอนที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ด้วย  โดยที่วิธีการเรียนแบบใหม่ คือ การสร้างให้ผู้เรียนสร้างโครงสร้างของความรู้ขึ้นเอง
            อย่างไรก็ตามไม่ว่าเป็นทฤษฎีแบบไหนก็ตามก็มีส่วนสำคัญที่แตกต่างกันไป คืออยู่ที่ว่า  การเรียนรู้ที่กิดขึ้นนั้นเหมาะกับทฤษฎีใด ซึ่งทำให้การเรียนรู้นั้นได้ผลดี ดียิ่งขึ้นไป



                                                                         เรียบเรียงโดย
                                                               ชื่อ  นางสาว นูรมา  เจ๊ะบือราเฮง
                                                               รหัส  5316417136    เลขที่ 56





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น